5 ธุรกิจสร้างยาก แต่หากสร้างได้ การันตีความยั่งยืนผุด ๆ
ReadyPlanet.com
5 ธุรกิจสร้างยาก แต่หากสร้างได้ การันตีความยั่งยืนผุด ๆ

 5 ธุรกิจสร้างยาก แต่หากสร้างได้ การันตีความยั่งยืนผุด ๆ


 

ธุรกิจใครก็สร้างได้ แต่จะสร้างให้ยั่งยืน ดูเหมือนจะไม่ง่าย ยิ่งถ้าเรามีเป้าหมายที่ใหญ่ การจะสเกลธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเริ่มจากเงินทุนก้อนเล็ก ๆ ยิ่งเป็นไปได้ยาก

 

ผมจึงเลือกธุรกิจ 5 ประเภทที่เริ่มต้นจากธุรกิจขนาดเล็ก แต่สามารถสเกลหรือขยายให้โตได้ในระยะเวลาอันสั้นมาให้ลองศึกษาดูนะครับ

 

1.      ธุรกิจแฟรนไชส์

 

การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ คือการสร้างต้นแบบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และขายต่อในเรื่องของ Know How แบบสำเร็จรูป ซึ่งคนที่ซื้อแฟรนไชส์จะได้โมเดลการทำธุรกิจแบบกึ่งสำเร็จรูป เรียกได้ว่าครบวงจร แต่มีความเสี่ยงเรื่องของหน้าร้าน และการทำตลาดที่ยังต้องแย่งชิงกันในกลุ่มผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วยกัน รวมถึงจำนานของแฟรนไชส์ที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต

 

อย่างไรก็ตาม ข้อดีจริง ๆ ของการซื้อแฟรนไชส์มาบริหารคือ การได้เรียนรู้ธุรกิจที่มีแบบแผน รายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ผมถือว่าเป็นการช่วยร่นระยะเวลาในการศึกษาธุรกิจ ด้วยเงินไม่มากได้อย่างดีเยี่ยม

 

แต่ในเรื่องของยอดขายและผลกำไร อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของธุรกิจ แนวโน้มของเมกาเทรนด์ ความสามารถในการแข่งขัน ทำเลที่ตั้ง ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ต้องนำมาตัดสินใจในการเลือกแฟรนไชส์ทั้งสิ้น

 

ในมุมของเจ้าของกิจการ ใครที่คิดจะพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และขายธุรกิจเป็นสิทธิแฟรนไชส์ ควรจะค่อย ๆ ขยายทีละสาขา อย่ารีบร้อน โดยสาขาแรก ๆ ควรจะขายแฟรนไชส์ให้กับญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท หรือคนรู้จัก เพื่อเรียนรู้และตกผลึกปัญหาต่าง ๆ ที่จะพบเจอ ผมเชื่อมั่นว่า ปัญหาที่เราคิด กับปัญหาที่เราเจอ ฟันธงว่าไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน ดังนั้น เดินทีละก้าว ข้ามทีละสเต็ป จะทำให้เราปวดหัว และเจ็บตัวน้อยที่สุดครับ

 

2.      ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย

 

ในยุคดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง ธุรกิจที่พีคที่สุดคงหนีไม่พ้น ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย ด้วยความที่ผู้ทรงอิทธิพลในสื่อโฆษณายุคนี้ ไม่ใช่ดารา หรือนักแสดงเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีพรีตตี้ เน็ตไอดอล นักร้องสมัครเล่น รวมถึงคนธรรมดา ซึ่งหลายฝ่ายเรียกรวม ๆ ว่า “You” หมายถึงคนที่มีอิทธิพลในยุคดิจิตอลมากที่สุดคือ คุณนั่นเอง

 

คนธรรมดาอาจจะกลายเป็นซุปตาร์ได้ คนที่เป็นซุปตาร์เองก็สามารถกลายเป็นคนธรรมดาได้เช่นกัน

 

ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจที่เรามักจะเห็นคนที่ประสบความสำเร็จทางสังคมออนไลน์ มีผู้ติดตามมากมาย หันมาขายของและรับสมัครตัวแทนจำหน่าย โดยเอาตัวเองเป็นพรีเซนเตอร์ ซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือในแง่ กระแสสังคมโดยคอนเซปต์ง่าย ๆ คือ น้ำขึ้นให้รีบตักตัวเจ้าของเอง เมื่อโด่งดังในสังคมออนไลน์แล้ว จะขายอะไรก็ได้ ตัวคนที่รับของไปขายหรือตัวแทนจำหน่าย ก็ทำเงินได้ง่ายได้ ขายของก็ง่าย เพราะกระแสของเจ้าของแบรนด์กำลังดัง หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึง

 

แต่การทำธุรกิจลักษณะนี้ควรระวังเรื่องการจบเทรนด์ หรือผมเรียกว่า ลุกทีหลัง จ่ายรอบวงการขายสินค้าที่อิงกระแสของเจ้าของแบรนด์เป็นหลัก ต้องรีบขายรีบเผ่น เข้าช่วงแรกออกช่วงหลัง ระมัดระวังให้มาก ขายออกหนึ่งล็อต สั่งของหนึ่งล็อต ห้ามตุน ห้ามเบิ้ล ห้ามโลภมากเก็บแต้มทำ VIP ไม่ได้เด็ดขาด เพราะห้ามสินค้าค้างสต็อคในจังหวะที่เทรนด์จบ งานที่เหมือนถือระเบิดเวลาเดินไปเดินมา สุดท้ายไม่มีใครรับรับลูกระเบิด ก็งานงอกอย่างแน่นอน

 

 

สุดท้ายนี้ ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย หากเราพัฒนาไปในทางที่ถูกต้อง เจ้าของแบรนด์รักตัวแทนเหมือนคนในครอบครัว มีการอบรมให้ความรู้ ช่วยขายของ ช่วยปล่อยของ ทำเนื้อหาดี ๆให้ตัวแทนได้รับรู้ ได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ รวมถึงสินค้าที่ขายต้องดีจริง ใช้แล้วเกิดการบอกต่อ ถ้าเจ้าของแบรนด์ทำได้แบบนี้ ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายจะเติบโตอย่างยั่งยืน และไม่เสี่ยงที่จะล้มหายตายจาก แม้ว่าช่วงแรกอาจจะโตยาก เพราะเราไม่ได้โหนกระแส แต่เมื่อธุรกิจเริ่มเดินด้วยตนเองได้ ธุรกิจจะไปได้อย่างยั่งยืนและมีความสุขในลักษณะ Family Business หรือธุรกิจครอบครัวได้ครับ

 

3.      ธุรกิจรับจ้างผลิต(OEM)

 

ธุรกิจรับจ้างผลิต เรามักจะเปรียบเทียบเหมือน ธุรกิจหมาล่าเนื้อเพราะต้องออกล่าตลอดเวลา หากไม่หาลูกค้าใหม่ ๆ มักจะไม่เติบโตมากขึ้น หรืออาจจะถึงขั้นอดตาย ต้องปิดโรงงานก็เป็นได้

 

แต่ในความเป็นจริง หากเรามองที่แก่นของธุรกิจรับจ้างผลิต(OEM) เราจะสรุปได้ว่า ธุรกิจนี้จะดี ต้องหาลูกค้าที่ดีก่อนเสมอ ลูกค้าที่ดีหมายถึงลูกค้าที่จ้างเราผลิต และมีการ Repeat Order หรือเกิดการสั่งผลิตซ้ำ ๆกันหลาย ๆรอบ

 

โดยปรกติ กำไรของธุรกิจรับจ้างผลิต จะเกิดจากการผลิตซ้ำ ดังนั้น หากธุรกิจของลูกค้าไปไม่รอด อาจจะเกิดจากสินค้าไม่ดี การตลาดไม่แข็งแรง สินค้าไม่ตอบโจทย์ ตกเทรนด์ หรืออะไรก็ตาม ลักษณะนี้ทั้งลูกค้าและเจ้าของโรงงานจะบาดเจ็บทั้งคู่ เพราะเสียทั้งเวลาและรายได้ทั้งสองฝ่าย

 

ดังนั้น การคัดเลือกลูกค้าที่ใช่ เข้าใจตลาด ทำการตลาดเป็น ในส่วนของโรงงาน ต้องผลิตสินค้าที่ใช่ มีฝ่ายวิจัยและพัฒนา รวมถึงออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย ตรงกับกระแสความต้องการ ล้วนแต่มีความจำเป็น

 

ในส่วนโรงงาน ให้เราคิดว่าการผลิตสินค้าแต่ละชิ้น ให้คิดเสมือนเป็นสินค้าที่เราทำเอง ขายเอง หากลูกค้ากำไร คือเรากำไร หากลูกค้าขาดทุน เราเป็นลมไปด้วย ดังนั้น บางทีเจ้าของโรงงาน อาจจะต้องศึกษาการตลาดมากกว่าลูกค้าก็เป็นไปได้นะครับ ^^

 

4.      ธุรกิจขายส่ง

 

หลายคนไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง ธุรกิจขายส่ง vs ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย หากดูคร่าว ๆ ธุรกิจทั้งสองตัวมีความใกล้เคียงกัน เพราะถือเป็นการขายอาชีพทั้งคู่ กล่าวคือเราขายส่งสินค้าแก่กลุ่มลูกค้า โดยลูกค้าเหล่านี้นำสินค้าของเราไปขายปลีกในขั้นสุดท้าย จุดแตกต่างอยู่ที่ ตัวแทนจำหน่ายจะรับสินค้าในปริมาณที่น้อยกว่า มีการจูงใจด้วยโปรโมชั่นต่าง ๆ มีการเก็บสะสมแต้มเพื่อขึ้นตำแหน่ง ดูคล้ายกับธุรกิจเครือข่าย แต่ไม่ซับซ้อนขนาดนั้น

 

ในส่วนธุรกิจขายส่งมีความอนุรักษ์นิยมมากว่า เน้นการขายทีละมาก ๆ ในราคาถูก หัวใจของการขายส่งคือลดต้นทุนให้ถูกที่สุด เพื่อนำไปขายปลีกทำกำไรอีกครั้ง ดังนั้น การทำธุรกิจขายส่ง ต้องเน้นกลยุทธ์ Cost Leadership คือการลดต้นทุนเป็นสำคัญ เพื่อเกิด Economic of Scale หรือการประหยัดต่อขนาด ดังนั้น ถือเป็นการเน้นการผลิตมากกว่าการขาย

 

5.      ธุรกิจเปิดหน้าร้านขายปลีก(ขยายสาขา)

 

การสร้างโมเดลธุรกิจในรูปแบบขยายสาขา ส่วนมากเน้นการทำแบรนด์ให้ติดตลาด และขยายสาขาเพื่อลดต้นทุนต่อขนาด หมายถึงการเปิดสาขาในช่วงแรกจะขาดทุนต่อเนื่อง จนกระทั่งขยายถึงจุดหนึ่งซึ่งคุ้มค่าระบบการจัดการ ค่าบริหาร รวมถึงค่าซอฟแวร์ต่าง ๆ ซึ่งต้องลงทุนอย่างหนักในช่วงแรก

 

ดังนั้น การทำธุรกิจประเภทนี้ เราเรียก Growth Business หรือคือการเน้นการเติบโตมากกว่าผลกำไรของบริหาร เรามักจะเห็นการลงทุนครั้งใหญ่เพื่อขยายสาขาในหน้าตาเดิม ๆ และเน้นการขยายสาขาอย่างรวดเร็วเพื่อหวังผลในการกินส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง

 

ธุรกิจจำพวกนี้ ผู้ชนะแทบจะกินทุกอย่าง เพราะมีอำนาจในการต่อรองกับทุกฝ่ายสูงมาก เช่น สามารถต่อรองกับผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ ขนส่ง รวมถึงดึงดูดพนักงานให้ร่วมทำงานด้วย

 

การจะทำธุรกิจให้อยู่ในขั้นตอนนี้ได้ อาจจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการณ์นานมาก การขยายสาขาจากสาขาแรกสู่สาขาที่สอง อาจจะใช้เวลาเป็นสิบปี แต่สาขาหลังจากนั้น จะค่อย ๆ ลดระยะเวลาตามลำดับเนื่องจากเงินทุนหมุนเวียนเริ่มมากขึ้น หรือเริ่มมีเครดิตจากธนาคารต่าง ๆมาช่วยเหลือในการขยายตลาด บางบริษัทเน้นผลักดันธุรกิจเข้าสู่ตลาดเงินทุน เพื่อหวังได้รับเงินทุนมาขยายสาขาอย่างรวดเร็ว

 

แต่ก็อย่างที่ผมสรุปให้ฟัง ธุรกิจสุดท้ายใช้เวลานานที่สุด แต่หากใครมีความสามารถด้านการบริหาร รวมถึงมีวิศัยทัศน์กว้างไกล รวมถึงธุรกิจเอื้อต่อการเติบโต การสามารถทำธุรกิจลักษณะนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น

 

บทความนี้อาจจะยาวและยากในการเรียนรู้ แต่ผมเชื่อว่า ถ้าคุณศึกษาอย่างลึกซึ้ง คุณจะพบกับความรู้ที่จะนำพาธุรกิจของคุณไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

 

ขอบคุณครับ ^^




ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์

คอร์สมือใหม่หัดขายของออนไลน์
คอร์ส Google Marketing
คอร์ส 59 เทคนิค Facebook Marketing
คอร์สสร้างตัวตน และสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์
คอร์ส SEO
คอร์ส Facebook Marketing
คอร์สอาชีพ
ธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจออนไลน์
ทำอะไรขายดี
หางานทำที่บ้าน
งานอิสระ
งานพิเศษ
งานเสริม
ขายของออนไลน์
ลงทุน
หาเงิน
อาลีบาบา
โฆษณาเฟสบุ๊ค
โฆษณาสินค้า
online marketing
กลยุทธ์การตลาด
สร้างรายได้
รายได้พิเศษ
รายได้เสริม
อาชีพสร้างรายได้
อาชีพทำเงิน
อาชีพที่น่าสนใจ
อาชีพอิสระ
อาชีพเสริม
ธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจที่น่าสนใจ
ธุรกิจที่น่าลงทุน
ธุรกิจ SME
ธุรกิจทำเงิน
ธุรกิจส่วนตัว
ทำธุรกิจอะไรดี
ขายอะไรดี
สัมมนาฟรี Online Marketing 2018: Facebook / Google / Line@
2 สุดยอดกฏเหล็ก facebook ประจำปี 2017
สร้างกำแพงให้ธุรกิจออนไลน์ใน 4 สัปดาห์ (เวอร์ชั่นใช้งานได้จริง)
ทางรอดธุรกิจ SME
ธุรกิจส่วนตัวยุคใหม่ ต้องการอะไรบ้าง?
E-commerce จะยั่งยืนได้ ต้องรู้จักการสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์ โดย อ.วรเศรษฐ์
7 เทคนิค Online Marketing 2015 สุดยอดการตลาดที่ทุกคนต้องรู้ โดย อ.วรเศรษฐ
ขายอะไรดี คำถามยอดนิยมสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจทุกคน